บางทีอาจจะไม่มีพ่อที่ดีที่สุด แต่มีพ่อรักคุณมากที่สุด
ถ้าหากเราที่จะเอ่ยพูดถึงหรือคิดถึงผู้ชายคนหนึ่งคำๆนั้นหรือคนที่เราจะคิดถึงคนแรกนั้นคือ “พ่อ” เชื่อว่าคงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก นับตั้งแต่ลมหายใจที่เราสูดเข้าไปในร่างกายครั้งแรกและเราลืมตาขึ้นมาดูโลกนั้นพ่อคือคนที่เคียงข้างเราเสมอ ไม่ใช่มีเพียงแม่เท่านั้นที่คอยเอาใจใส่เราดูแลเราเป็นอย่างดี แต่ยังมีอีกบุคคลหนึ่งที่คอยประคบประหงมเรามาตั้งแต่อ้อนแต่ออก เป็นผู้ที่รักและเอาใจใส่เรามาตั้งแต่เล็กตนโตไม่แพ้กัน นั่นก็คือ "พ่อ”ถึง แม้ว่าในความรู้สึกของลูกมันจะผูกพันกับแม่มากกว่าก็ตามที หลายคนคิดว่าการเลี้ยงลูกนั้น คงเป็นหน้าที่แม่ ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิด แต่พ่อก็มีบทบาทที่จะอบรม เลี้ยงดูสั่งสอน และช่วยฝึกฝนลูกให้เติบใหญ่เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพไม่น้อยไปกว่าแม่เช่นกัน
สถาบันครอบครัวของไทย นับตั้งแต่อดีต ผู้ชายจะเป็นหัวหน้าครอบครัวและเป็นผู้ปกครองคนในบ้าน ซึ่งการจะทำหน้าที่ดังกล่าวได้ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความขยัน อดทน ความเด็ดเดี่ยว และความเป็นผู้นำที่จะจัดการเรื่องราวทุกอย่าง รวมไปถึงการหาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวดังนั้น ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นหลักได้ ก็คือ “พ่อ” นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด ส่วนใหญ่จะถือว่า“พ่อ” เป็นผู้ดูแลภาระในการเป็นผู้นำของครอบครัว ความสำคัญของพ่อนั้น จึงมีความหมายและยิ่งใหญ่ต่อความรู้สึกของลูก ๆทุกคน
ความรักความผูกพันอันลึกซึ้งระหว่างพ่อกับลูกที่สื่อออกมาจากใจ สามารถถ่ายทอดให้เห็นได้ทั้งจากกระทำและการแสดงออก อันก่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น โดยเฉพาะเสียงที่แปล่งคำว่า “พ่อ” ให้ได้ยินเป็นครั้งแรก ย่อมทำให้ “พ่อ” เกิดความปลื้มใจและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี แม้คำว่า “พ่อ” จะหมายถึง ผู้ให้กำเนิด เหมือนๆกันในทุกชาติทุกภาษา แต่คำเรียกว่า“พ่อ”ในแต่ล่ะชนชาติก็มีสำเนียงเสียงเรียกที่หลากหลายแตกต่างกัน ดังที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงวัฒนธรรม จะขอยกตัวอย่างบางส่วนมา ดังนี้
คำว่า“พ่อ” ในแต่ล่ะภูมิภาคของประเทศไทย จะเรียกผู้ให้กำเนิดคล้ายและต่างกัน คือ
ภาคกลาง เรียกว่า พ่อ
ภาคอีสาน เรียกว่า อีพ่อ
ภาคเหนือ เรียกว่า ป้อ
ภาคใต้ เรียกว่า พ่อ
ภาคอีสาน เรียกว่า อีพ่อ
ภาคเหนือ เรียกว่า ป้อ
ภาคใต้ เรียกว่า พ่อ
ส่วนการเรียก “พ่อ” ในชนชาติอื่นๆก็มีการเรียกที่แตกต่างกันแต่ยังคงความหมายที่เหมือนกัน เช่น
เกาหลี เรียกว่า อะปะ
ญี่ปุ่น เรียกว่า โอโต๊ะซัง
จีน เรียกว่า ป้าปา/ปะป๊า
เขมร เรียกว่า โอวปุ๊ก
เยอรมัน เรียกว่า แดร์ ฟาเท่อะ
อิตาเลี่ยน เรียกว่า ปาเดระ
อเมริกัน/อังกฤษ เรียกว่า แด๊ด/แด๊ดดี้
ญี่ปุ่น เรียกว่า โอโต๊ะซัง
จีน เรียกว่า ป้าปา/ปะป๊า
เขมร เรียกว่า โอวปุ๊ก
เยอรมัน เรียกว่า แดร์ ฟาเท่อะ
อิตาเลี่ยน เรียกว่า ปาเดระ
อเมริกัน/อังกฤษ เรียกว่า แด๊ด/แด๊ดดี้
สิง่ที่เรียกว่า “พ่อ” ตามท้องถิ่นต่างๆแม้จะผิดแผกกันไปบ้าง แต่ทุกคำก็ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความรักที่ทรงคุณค่าและมีความหมายระหว่างพ่อกับลูกเสมอ
กาลเวลาที่ผ่านไป กับยุคสมัยที่แปรเปลี่ยน อาจจะทำให้บทบาทของผู้เป็น “พ่อ” ต้องปรับเปลี่ยนไปบ้าง แต่สำหรับ”ลูก” แล้ว พ่อ คือส่วนสำคัญในย่างก้าวของลูกที่จะเดินต่อไปในอนาคต
เพราะคำว่า“พ่อ” มิได้มีความหมายเพียงผู้ให้กำเนิดลูกเท่านั้น แต่ยังมีนิยามอีกหลากหลายทัศนะที่แฝงด้วยความรักอันบริสุทธิ์ ซึ่งแสดงถึงความคิด ความผูกพันที่ผู้เป็นลูกมีให้แก่ “พ่อ” เช่น
พ่อ คือ ซุปเปอร์แมนที่ปกป้องโลกของลูกให้มีแต่ความสุข
พ่อ คือ ถุงลมนิรภัยที่คอยปกป้องเรา เมื่อประมาทหรือพลาดพลั้ง
พ่อ คือ เครื่องบินที่พาเราไปสำรวจโลกกว้างด้วยกัน
พ่อ คือ ท้องฟ้า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน มองขึ้นไปก็ยังเห็นพ่ออยู่กับเราเสมอ
พ่อ คือ มหา'ลัยเหมืองแร่ ที่สอนการดำเนินชีวิตให้เรา
พ่อ คือ ธนาคารที่มีสาขาเดียว แต่เราเบิกได้จากทั่วโลก
พ่อ คือ หมอที่ไม่ต้องเสีย 30 บาท ก็รักษาได้ทุกโรค (อกหัก ทรัพย์จาง ฯลฯ)
พ่อ คือ เพื่อนซี้ตลอดกาลของเรา
พ่อ คือ กำลังใจในยามที่เราท้อแท้
พ่อ คือ ผู้ที่ภูมิใจในตัวเรา แม้เราจะไม่เป็น “ที่หนึ่ง” ที่ใด แต่เป็น “หนึ่ง” ในใจพ่อเสมอ
พ่อ คือ คนที่รักเรามากที่สุดในโลก ฯลฯ
พ่อ คือ ถุงลมนิรภัยที่คอยปกป้องเรา เมื่อประมาทหรือพลาดพลั้ง
พ่อ คือ เครื่องบินที่พาเราไปสำรวจโลกกว้างด้วยกัน
พ่อ คือ ท้องฟ้า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน มองขึ้นไปก็ยังเห็นพ่ออยู่กับเราเสมอ
พ่อ คือ มหา'ลัยเหมืองแร่ ที่สอนการดำเนินชีวิตให้เรา
พ่อ คือ ธนาคารที่มีสาขาเดียว แต่เราเบิกได้จากทั่วโลก
พ่อ คือ หมอที่ไม่ต้องเสีย 30 บาท ก็รักษาได้ทุกโรค (อกหัก ทรัพย์จาง ฯลฯ)
พ่อ คือ เพื่อนซี้ตลอดกาลของเรา
พ่อ คือ กำลังใจในยามที่เราท้อแท้
พ่อ คือ ผู้ที่ภูมิใจในตัวเรา แม้เราจะไม่เป็น “ที่หนึ่ง” ที่ใด แต่เป็น “หนึ่ง” ในใจพ่อเสมอ
พ่อ คือ คนที่รักเรามากที่สุดในโลก ฯลฯ
นี่คือตัวอย่างนิยามคำว่า “พ่อ” ในนานาทัศนะของลูกๆ แล้วคุณล่ะเรียกและให้นิยาม“พ่อ” ผู้มีพระคุณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตอย่างไร?
๕ ธันวาคม วันพ่อปีนี้ อย่าลืม มอบความรักให้“พ่อ” บ้าง