หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

การวัดระดับเศรษฐกิจ

การวัดระดับเศรษฐกิจ    
1. รายได้ประชาชาติ หมายถึง รายได้รวมของทุกคนในเวลา 1 ปี ทำได้ 2 รูปแบบ
    1.1 รายได้รวมของทุกคนในประเทศในรูปของ ค่าเช่า ค่าจ้าง เงินเดือน และกำไร เป็นการคำนวณจากรายได้ที่เป็นตัวเงิน (อุตสาหกรรม)
    1.2 มูลค่ารวม ของสินค้า และบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตได้ในประเทศ ในเวลา 1 ปี
2. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล หาได้จาก รายได้ประชาชาติ หารด้วยจำนวนประชากร
3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) หมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตทั้งหมด โดยใช้ทรัพยากรของประเทศ (อาจผลิตในหรือนอกประเทศก็ได้)
4. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมด ที่ผลิตขายในประเทศ ในระยะเวลาหนึ่ง ไม่ว่าคนผลิตจะมีสัญชาติใด
GDP + รายได้สุทธิต่างประเทศ = GNP

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย

มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2503 มี 8 ฉบับคือ
แผนฉบับที่ 1 (2504-2509) เน้นการลงทุนด้านปัจจัยโดยสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น ไฟฟ้า ประปา ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
แผนฉบับที่ 2 (2510-2514) เน้นการลงทุนด้านปัจจัยพื้นฐานต่อเนื่องจากแผนที่ 1 การสำรวจและนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ในการผลิต
แผนฉบับที่ 3 (2515-2519) เน้นพัฒนาท้องถิ่นชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ชนบท การออก พรบ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (พ.ศ. 2518)
แผนฉบับที่ 4 (2525-2529) เน้นส่งเสริมการลงทุน ขยายการผลิต รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
แผนฉบับที่ 5 (2525-2529) เน้นการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชากรในชนบท ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตและสังคม
แผนฉบับที่ 6 (2530-2534) เน้นโครงการอุตสาหกรรม การขยายตัวให้มีแผนรองรับเพื่อการขยายตัว 10 แผน
แผนฉบับที่ 7 (2535-2539) เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่อเนื่องจากแผนที่ 6 เน้นการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
แผนฉบับที่ 8 (2540-2544) เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการขยายการศึกษา ขึ้นพื้นฐานจาก 9 ปี เป็น 12 ปี ใน ปี 2544 เสริมสร้างเศรษฐกิจและลดการเหลื่อมล้ำของรายได้

การคลัง

การคลัง เป็นการศึกษาเรื่องรายรับรายจ่ายของรัฐบาล
ขอบเขตของการศึกษาการคลัง
1. รายรับรายจ่ายของรัฐบาล
2. งบประมาณแผ่นดิน
3. นโยบายการคลังและระบบภาษี
4. หนี้สาธารณะ
รายรับและรายจ่ายของรัฐบาล
1. รายรับรัฐบาล   มาจากรายได้ในรูปภาษีอากร โดยเก็บจากผู้มีเงินได้ (ภาษีทางตรง) เก็บจากสินค้าและบริการ (ภาษีทางอ้อม), การขายสิ่งของและบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์ เงินกู้ (หนี้สาธารณะ) และเงินคงคลัง
2. รายจ่ายรัฐบาล   รัฐใช้เงินในรูปของเงิน งบประมาณ แจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่าง ๆ
งบประมาณแผ่นดิน
เป็นแผนการใช้จ่ายของรัฐในแต่ละปี ปีงบประมาณเริ่มเมื่อ 1 ต.ค. จนถึง 30 ก.ย. ของปีถัดไป
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ เป็นการนำสินค้าและบริการไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง เนื่องจากความแตกต่างกันทางทรัพยากรและความสามารถในการผลิต
นโยบายการค้า
1. การค้าแบบเสรี ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน, ไม่ให้สิทธิพิเศษ ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า
2. การค้าแบบคุ้มกัน มีการตั้งกำแพงภาษี, ไม่ให้สิทธิพิเศษ, ห้ามนำเข้า ห้ามส่งสินค้าบางชนิดออก ให้อุดหนุนเพื่อผลิตแข่งกับต่างประเทศ
ดุลการค้า     
ดุลการค้า คือการเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าขาออกและมูลค่าสินค้าขาเข้า ในรอบ 1 ปี แบ่งเป็นดุลการค้าขาดดุล, ดุลการค้าเกินดุล และดุลการค้าสมดุล
ลักษณะการค้าระหว่างประเทศของไทย
1. ใช้นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
2. ใช้ระบบภาษีศุลกากรพิกัดอัตราเดียว
3. ประเทศคู่ค้าสำคัญคือ ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, ซาอุดิอาระเบีย
4. สินค้าออก ส่วนใหญ่คือ สินค้าจากภาคเกษตรกรรม
5. สินค้าเข้า เป็นสินค้าอุตสาหกรรม เครื่องจักร และเชื้อเพลิง

การแก้ไขดุลการชำระเงินขาดดุล
1. ลดการส่งสินค้าเข้า
2. ชักชวนชาวต่างชาติมาท่องเที่ยว
3. ส่งเสริมการส่งออกมากขึ้น
4. ลดบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย
บัญชีดุลการค้าชำระเงินระหว่างประเทศ
1. บัญชีเดินสะพัด เป็นบัญชีรวมดุลการค้าและดุลบริการ
2. บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย เป็นการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศรวมถึงเงินกู้
3. บัญชีเงินโอนและเงินบริจาค เป็นเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศ
4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นบัญชีบอกจำนวนเงินสำรองระหว่างประเทศ และชี้ให้เห็นฐานะของดุลการชำระเงินของประเทศ
ข้อเปรียบเทียบระหว่างดุลการค้ากับดุลการชำระเงิน
1. ดุลการชำระเงินนั้นรวมรายจ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประเทศทั้งหมดทั้งที่เป็นรายรับ รายจ่ายจากสินค้าและบริการ เงินลงทุน เงินกู้ เงินบริจาค
2. ดุลการค้า หมายถึง ส่วนต่างของสินค้าเข้าและสินค้าออก โดยดุลการค้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดุลการชำระเงิน
3. บางประเทศอาจมีการค้าขาดดุล แต่มีดุลการชำระเงินเกินดุลก็ได้

ทุนสำรองระหว่างประเทศ  
ทุนสำรองระหว่างประเทศ   คือ ทรัพย์สินของประเทศที่เป็นทองคำและเงินตราต่างประเทศสกุลสำคัญ เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ หรือปอนด์สเตอริง เงินสำรองระหว่างประเทศมีประโยชน์คือ
1. ใช้เป็นทุนสำรองเงินตราส่วนหนึ่ง
2. ใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับชำระเงินให้กับต่างประเทศ
3. ใช้เป็นทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประเทศส่วนหนึ่ง เพื่อให้มีเสถียรภาพมั่นคง
การลงทุนระหว่างประเทศ
เป็นการที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งนำเงินไปลงทุนดำเนินธุรกิจ เพื่อแสวงหาผลกำไร สาเหตุของการลงทุนระหว่างประเทศเพื่อต้องการขยายการผลิตและการลดต้นทุน
ผลที่เกิด
1. ประเทศกำลังพัฒนา ได้เรียนรู้วิทยาการ เทคโนโลยีใหม่ ๆ
2. ประเทศกำลังพัฒนา มีการว่าจ้างงานมากขึ้น
3. เกิดการเอาเปรียบประเทศที่รับการลงทุน
4. อาจก่อความขัดแย้งระหว่างประเทศได้

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
1. สหภาพยุโรป (Economic Union)
     สมาชิก 15 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน อิตาลี ลักแซมเบอร์ก เนเธอแลนด์ อังกฤษ เดนมาร์ก สาธารณรัฐไอร์แลนด์ กรีซ สเปน โปรตุเกส สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และแคนาดา จุดประสงค์การก่อตั้ง เพื่อพัฒนาและยกมาตรฐานการครองชีพ ยกข้อจำกัดทางการค้าในกลุ่มสมาชิกและป้องกันประเทศนอกกลุ่ม
2. สมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association Southeast Asean Nations)
     ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม พม่า และลาว จุดประสงค์เพื่อการร่วมมือกันด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม มีการคัดเลือกอุตสาหกรรมตามความถนัดและวัตถุดิบที่ประเทศสมาชิก มีการประกาศเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เพื่อลดหย่อนภาษีให้เหลือ 0-5%
3. กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC)
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2502 ประกอบด้วย อิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ ลิเบีย สหรัฐอะมิเรต แอลวีเรีย กาบอง เวเนซูเอลา เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย อิรัก โอมาน วัตถุประสงค์เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองราคาน้ำมัน โดยการกำหนดราคาและปริมาณการผลิต
4. ธนาคารเพื่อการบูรณะและพันฒนา (IBRD)
     หรือธนาคารโลก เป็นแหล่งให้กู้เงินสำหรับประเทศต่าง ๆ
5. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
     ตั้งขึ้นเพื่อสร้างความร่วมมือในด้านการเงินระหว่างประเทศ รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และแก้ปัญหาการขาดดุลการชำระเงินแก่ประเทศสมาชิก

การธนาคารเบื้องต้น

การธนาคารเบื้องต้น    เป็นการศึกษาบทบาทของธนาคาร เช่น
1. ธนาคารกลาง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ควบคุมนโยบายและปริมาณเงินภายในประเทศ เป็นนายธนาคารกลางของธนาคารพาณิชย์ ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รักษาทุนสำรองระหว่างประเทศ และออกพันธบัตร
2. ธนาคารพาณิชย์ ทำหน้าที่รับฝากเงิน ให้บริการโอนเงิน ให้เช่าตู้นิรภัย
3. ธนาคารพิเศษ เช่น
       - ธนาคารออมสิน เช่น ส่งเสริมการออกทรัพย์ รับฝากเงินจากประชาชน ให้รัฐกู้ไปใช้
       - ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ส่งเสริมการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
       - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมการพัฒนาการเกษตร ให้เกษตรกู้ยืม
4. สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์, บริษัทเครดิตฟองซ์เอร์, สหกรณ์การเกษตร, สหกรณ์ออมทรัพย์, โรงรับจำนำ

การเงิน การคลัง การธนาคาร

การเงิน การคลัง การธนาคาร
เงิน คือ สิ่งใด ๆ ก็ตามที่สังคมยอมรับใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
หน้าที่ของเงิน
 1.เป็นเครื่องวัดมูลค่า เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต เป็นเครื่องรักษามูลค่า
ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ (รวมทั้งประเทศไทย) หันมาใช้มาตรฐานเงินตราที่เรียกว่ามาตราผสมภายใต้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยกำหนดค่าเสมอภาค เทียบกับทองคำ และเงินดอลลาร์
ค่าของเงิน
1. ค่าภายใน
2. ค่าภายนอก เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น 42 บาทเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าภายใน เป็นอำนาจในการซื้อสินค้าของเงิน 1 หน่วย ถ้า 1 หน่วย ซื้อสินค้าได้มาก แสดงว่ามีค่ามาก (ค่าของเงินจะแปรผกผันกับราคาสินค้า)
       ภาวะการเงินที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
 1. ภาวะเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่เงินมีอำนาจการซื้อลดลง ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
 ผลกระทบ - ผู้เสียเปรียบคือ เจ้าหนี้ และผู้มีรายได้แน่นอน
- ผู้ได้เปรียบคือ ลูกหนี้ และนักธุรกิจ
 วิธีแก้ปัญหา - ขึ้นอัตราดอกเบี้ย และขายพันธบัตรรัฐบาล
- ใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล ด้วยการเพิ่มภาษีอากร
 2. ภาวะเงินฝืด คือ ภาวะที่มีเงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินลดลง ราคาสินค้าและบริการถูกลง แต่ไม่มีคนมาซื้อ
ผลกระทบ - ผู้เสียเปรียบคือ ลูกหนี้ และนักธุรกิจ
- ผู้ได้เปรียบคือ เจ้าหนี้ และผู้มีรายได้แน่นอน
  วิธีแก้ปัญหา - ลดอัตราดอกเบี้ย และซื้อพันธบัตรรัฐบาล
- ใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล ด้วยการลดหนี้ และเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐ
 3. ภาวะเงินตึง      คือ   ภาวะที่กระแสการเงินชะงักชะงัน มีความต้องการเงินเพื่อลงทุนเพิ่มแต่ปริมาณเงินน้อย การแก้ปัญหา   คือ   เพิ่มปริมาณเงินหรือกู้เงินมาหมุนเวียนเพิ่มอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดก็ได้

รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ

รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ
1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม เอกชนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินและเป็นผู้ดำเนินการผลิต
มีการแข่งขันกันในด้านคุณภาพ ราคา การให้บริการ กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินผ่านกลไกราคา
ข้อดี 1. เอกชนมีสิทธิ์เสรีภาพในทางเศรษฐกิจ
2. สินค้ามีการพัฒนา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ดี
ข้อเสีย 1. การกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน
2. ทรัพยากรถูกนำมาใช้ฟุ่มเฟือย
2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม รัฐมีบทบาทในการวางแผนและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
เอกชนยังเป็นเจ้าของปัจจัยบางประเภท มีการวางแผนด้านเศรษฐกิจจากส่วนกลาง
ข้อดี 1. ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น
2. ฐานะของประชาชนไม่แตกต่างกัน
ข้อเสีย 1. รัฐรับภาระทางด้านสวัสดิการ
2. เอกชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
3. ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ รัฐเป็นเจ้าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและปัจจัยการผลิต เอกชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการเลือกอาชีพ รัฐควบคุมการผลิตอย่างสมบูรณ์ มีการวางแผนจากผลิตจากส่วนกลาง
ข้อดี 1. ควบคุมการใช้ทรัพยากรได้ดี
2. เอกชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นของเอกชน รัฐคงจัดสรรสวัสดิการให้ประชาชน
มีการแข่งขันด้านคุณภาพ ราคา บริการ รัฐเข้าดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อส่วนรวม
ใช้กลไกราคา ร่วมกับการวางแผนจากส่วนกลาง
ข้อดี 1. เอกชนมีเสรีภาพ
2. รัฐเข้าคุ้มครองผลประโยชน์ไว้กับประเทศและสังคม
ข้อเสีย 1. รัฐรับภาระสวัสดิการต่าง ๆ

ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษากิจกรรมเศรษฐกิจของมนุษย์ในการเลือกหาแนวทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์ รวมถึงการกระจายและการบริโภคแบ่งออกเป็น 2 ภาคคือ
      1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล ครัวเรือน เป็นการศึกษาเฉพาะส่วนย่อย ๆ ในระยะเวลาหนึ่ง ๆ
      2. เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับรวมหรือในระดับประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ อัตราการจ้างงาน การธนาคาร การคลัง

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. การผลิต (Production) เป็นการสร้างสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยให้เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น ประโยชน์จากรูปร่าง ประโยชน์จากสถานที่ ประโยชน์จากเวลา ประโยชน์จากกรรมสิทธิ์
ปัจจัยการผลิต
ที่ดิน หมายถึงที่ดินและทรัพยากรที่อยู่ในดินและเหนือพื้นดิน ค่าตอบแทนคือ ค่าเช่า
แรงงาน หมายถึง แรงงานที่เกิดจากกำลังกายและสติปัญญาของมนุษย์ ค่าตอบแทนคือ ค่าจ้าง หรือเงินเดือน
ทุน หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับแรงงาน เช่น เครื่องจักร ค่าตอบแทนคือ ดอกเบี้ย
ผู้ประกอบการ ผู้ที่นำเอาปัจจัยการผลิต มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ ค่าตอบแทนคือ กำไร
ขั้นการผลิต
การผลิตขั้นปฐมภูมิ เป็นการผลิตขั้นแรกโดยนำทรัพยากรธรรมชาติ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แรงงาน เช่น การประมง การเกษตร
การผลิตชั้นทุติยภูมิ เป็นการนำเอาผลผลิตขั้นต้น มาแปรสภาพเป็นสินค้าได้แก่ หัตถกรรม และอุตสาหกรรม
การผลิตชั้นตติยภูมิ เป็นการผลิตในรูปบริการ เช่น การขนส่ง การท่องเที่ยว การประกันภัย
          การกำหนดราคาและปริมาณการผลิต ผู้ผลิต อาจคาดคะเนผลผลิตจากการคาดคะเนอุปสงค์และอุปทานของสินค้าในตลาด
อุปสงค์ (Demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ขึ้นกับราคาสินค้า
        กฎทั่วไปของอุปสงค์ คือ อุปสงค์แปรผันโดยอ้อมหรือผูกพันกับราคาสินค้าและบริการ (สินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็นสินค้าที่มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์น้อย)
อุปทาน (Supply) เป็นปริมาณความต้องการที่จะขายสินค้าและบริการ ซึ่งจะขึ้นกับราคาของสินค้าและบริการ
        กฎทั่วไปของอุปทาน คือ อุปทานจะแปรผันโดยตรงกับราคาสินค้าและบริการ
ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ
ราคาสินค้าแพงนั้น เกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์มากกว่าอุปทาน (ภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน)
ราคาสินค้าถูกลง    เกิดขึ้นเมื่อ อุปทานมากกว่าอุปสงค์ (ภาวะอุปทานส่วนเกิน)
2. การบริโภค (Consumption) หมายถึงการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ
ชนิดของการบริโภค
2.1 ความหมายของการบริโภค การกินหรือการใช้สินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยตรง
2.2 สินค้าคงทน ได้แก่ สินค้าที่เก็บไว้ใช้ได้นานเป็นปี เข่น ปากกา นาฬิกา กระเป๋า
สินค้าไม่คงทน ได้แก่ สินค้าที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปภายใน 1 ปี เช่น อาหาร น้ำมัน เชื้อเพลิง กระดาษ ถ้ารายได้ต่ำ ความสามารถในการบริโภคจะถูกจำกัดลง และถ้ามีรายได้สูง ความสามารถในการบริโภคจะสูงขึ้น
3. การกระจาย (Distribution) หมายถึงการจำนวนจ่ายแจกสินค้าและบริการ แบ่งเป็น
3.1 การกระจายสินค้าและบริการ
3.2 การกระจายสินค้าและบริการ ไปสู่ผู้บริโภค
การกระจายรายได้ เป็นการกระจายผลตอบแทนไปสู่ปัจจัยการผลิต
4. การแลกเปลี่ยน (Exchange) หมายถึง การนำสินค้าและบริการไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการอื่น หรือแลกเปลี่ยนกับสื่อกลาง จึงแบ่งออกเป็น
4.1 ความหมายของกสรแลกเปลี่ยน
4.2 วิวัฒนาการของการแลกเปลี่ยน
4.3 การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้าการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อเงินตราหรือใช้สื่อกลาง
การแลกเปลี่ยนแบบใช้สินเชื่อ เช่น เช็ค ตั๋วแลกเงิน ดราฟท์