หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

การคลัง

การคลัง เป็นการศึกษาเรื่องรายรับรายจ่ายของรัฐบาล
ขอบเขตของการศึกษาการคลัง
1. รายรับรายจ่ายของรัฐบาล
2. งบประมาณแผ่นดิน
3. นโยบายการคลังและระบบภาษี
4. หนี้สาธารณะ
รายรับและรายจ่ายของรัฐบาล
1. รายรับรัฐบาล   มาจากรายได้ในรูปภาษีอากร โดยเก็บจากผู้มีเงินได้ (ภาษีทางตรง) เก็บจากสินค้าและบริการ (ภาษีทางอ้อม), การขายสิ่งของและบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์ เงินกู้ (หนี้สาธารณะ) และเงินคงคลัง
2. รายจ่ายรัฐบาล   รัฐใช้เงินในรูปของเงิน งบประมาณ แจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่าง ๆ
งบประมาณแผ่นดิน
เป็นแผนการใช้จ่ายของรัฐในแต่ละปี ปีงบประมาณเริ่มเมื่อ 1 ต.ค. จนถึง 30 ก.ย. ของปีถัดไป
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ เป็นการนำสินค้าและบริการไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง เนื่องจากความแตกต่างกันทางทรัพยากรและความสามารถในการผลิต
นโยบายการค้า
1. การค้าแบบเสรี ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน, ไม่ให้สิทธิพิเศษ ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า
2. การค้าแบบคุ้มกัน มีการตั้งกำแพงภาษี, ไม่ให้สิทธิพิเศษ, ห้ามนำเข้า ห้ามส่งสินค้าบางชนิดออก ให้อุดหนุนเพื่อผลิตแข่งกับต่างประเทศ
ดุลการค้า     
ดุลการค้า คือการเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าขาออกและมูลค่าสินค้าขาเข้า ในรอบ 1 ปี แบ่งเป็นดุลการค้าขาดดุล, ดุลการค้าเกินดุล และดุลการค้าสมดุล
ลักษณะการค้าระหว่างประเทศของไทย
1. ใช้นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
2. ใช้ระบบภาษีศุลกากรพิกัดอัตราเดียว
3. ประเทศคู่ค้าสำคัญคือ ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, ซาอุดิอาระเบีย
4. สินค้าออก ส่วนใหญ่คือ สินค้าจากภาคเกษตรกรรม
5. สินค้าเข้า เป็นสินค้าอุตสาหกรรม เครื่องจักร และเชื้อเพลิง

การแก้ไขดุลการชำระเงินขาดดุล
1. ลดการส่งสินค้าเข้า
2. ชักชวนชาวต่างชาติมาท่องเที่ยว
3. ส่งเสริมการส่งออกมากขึ้น
4. ลดบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย
บัญชีดุลการค้าชำระเงินระหว่างประเทศ
1. บัญชีเดินสะพัด เป็นบัญชีรวมดุลการค้าและดุลบริการ
2. บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย เป็นการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศรวมถึงเงินกู้
3. บัญชีเงินโอนและเงินบริจาค เป็นเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศ
4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นบัญชีบอกจำนวนเงินสำรองระหว่างประเทศ และชี้ให้เห็นฐานะของดุลการชำระเงินของประเทศ
ข้อเปรียบเทียบระหว่างดุลการค้ากับดุลการชำระเงิน
1. ดุลการชำระเงินนั้นรวมรายจ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประเทศทั้งหมดทั้งที่เป็นรายรับ รายจ่ายจากสินค้าและบริการ เงินลงทุน เงินกู้ เงินบริจาค
2. ดุลการค้า หมายถึง ส่วนต่างของสินค้าเข้าและสินค้าออก โดยดุลการค้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดุลการชำระเงิน
3. บางประเทศอาจมีการค้าขาดดุล แต่มีดุลการชำระเงินเกินดุลก็ได้

ทุนสำรองระหว่างประเทศ  
ทุนสำรองระหว่างประเทศ   คือ ทรัพย์สินของประเทศที่เป็นทองคำและเงินตราต่างประเทศสกุลสำคัญ เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ หรือปอนด์สเตอริง เงินสำรองระหว่างประเทศมีประโยชน์คือ
1. ใช้เป็นทุนสำรองเงินตราส่วนหนึ่ง
2. ใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับชำระเงินให้กับต่างประเทศ
3. ใช้เป็นทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประเทศส่วนหนึ่ง เพื่อให้มีเสถียรภาพมั่นคง
การลงทุนระหว่างประเทศ
เป็นการที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งนำเงินไปลงทุนดำเนินธุรกิจ เพื่อแสวงหาผลกำไร สาเหตุของการลงทุนระหว่างประเทศเพื่อต้องการขยายการผลิตและการลดต้นทุน
ผลที่เกิด
1. ประเทศกำลังพัฒนา ได้เรียนรู้วิทยาการ เทคโนโลยีใหม่ ๆ
2. ประเทศกำลังพัฒนา มีการว่าจ้างงานมากขึ้น
3. เกิดการเอาเปรียบประเทศที่รับการลงทุน
4. อาจก่อความขัดแย้งระหว่างประเทศได้

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
1. สหภาพยุโรป (Economic Union)
     สมาชิก 15 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน อิตาลี ลักแซมเบอร์ก เนเธอแลนด์ อังกฤษ เดนมาร์ก สาธารณรัฐไอร์แลนด์ กรีซ สเปน โปรตุเกส สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และแคนาดา จุดประสงค์การก่อตั้ง เพื่อพัฒนาและยกมาตรฐานการครองชีพ ยกข้อจำกัดทางการค้าในกลุ่มสมาชิกและป้องกันประเทศนอกกลุ่ม
2. สมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association Southeast Asean Nations)
     ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม พม่า และลาว จุดประสงค์เพื่อการร่วมมือกันด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม มีการคัดเลือกอุตสาหกรรมตามความถนัดและวัตถุดิบที่ประเทศสมาชิก มีการประกาศเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เพื่อลดหย่อนภาษีให้เหลือ 0-5%
3. กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC)
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2502 ประกอบด้วย อิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ ลิเบีย สหรัฐอะมิเรต แอลวีเรีย กาบอง เวเนซูเอลา เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย อิรัก โอมาน วัตถุประสงค์เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองราคาน้ำมัน โดยการกำหนดราคาและปริมาณการผลิต
4. ธนาคารเพื่อการบูรณะและพันฒนา (IBRD)
     หรือธนาคารโลก เป็นแหล่งให้กู้เงินสำหรับประเทศต่าง ๆ
5. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
     ตั้งขึ้นเพื่อสร้างความร่วมมือในด้านการเงินระหว่างประเทศ รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และแก้ปัญหาการขาดดุลการชำระเงินแก่ประเทศสมาชิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น